บทความเกี่ยวกับการลงทุนบทความนี้เป็นบทความประวัติศาสตร์ของโลก เพราะหัวข้อเรื่องนี้ไม่ได้มีให้พูดถึงกันบ่อยๆ เพราะตั้งแต่มีสงครามรัสเซีย ยูเครนเกิดขึ้นหลายคนก็กังวลว่า ราคาสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน ทองคำ และอื่นๆอีกมากมายเกิดการผันผวนมากในแต่ละวัน แต่ละคนเลยกังวลว่าแล้วในช่วงสงครามแบบนี้จะลงทุนอย่างไรดี

ก่อนที่จะไปรู้ว่าเราจะลงทุนอย่างไรดีในช่วงเศรษฐกิจผันผวน เรามาปูพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องผลกระทบที่เกิดจากสงครามกันก่อน
สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย และยูเครนในขณะนี้ ถือว่าเป็นเรื่องหนักมาสำหรับคนทั้งโลก เพราะตั้งแต่เริ่มมีโรคระบาดใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่ทันหายดี เศรษฐกิจแย่ลงมาตลอด ยังไม่ทันได้ฟื้นตัว สงครามยังเกิดขึ้นอีกเรียกว่า Perfect Storm ทำให้เศรษฐกิจทั้งโลกแย่ สินทรัพย์ผันผวนเป็นอย่างมาก และถ้าพูดถึงการรบกันระหว่างรัสเซียและยูเครน ในมุมของสงครามเห็นได้ว่า รัสเซียได้เปรียบทั้งกำลังพล ทั้งอาวุธ แต่รัสเซียเองก็เจ็บหนักเหมือนกัน เพราะตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน ประเทศทั่วโลกก็ทยอยคว่ำบาตร เริ่มปิดกิจการในรัสเซีย แต่สิ่งที่เรียกว่าหนักสุดๆของรัสเซียเลยก็คือ รัสเซียถูกถอดออกจากระบบ SWIFT
SWIFT คืออะไร SWIFT ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1973 เป็นระบบที่ถูกสร้างมาเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งข้อความหากันได้ สามารถโอนเงินหากันได้ เหตุผลที่ SWIFT สำคัญมากก็เพราะว่า SWIFT มีสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ระบบ SWIFT มากถึง 11,000 สถาบันการเงิน จาก 200 ประเทศทั่วโลกก็คือแทบจะทั้งโลกเลย ซึ่งรัสเซียก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นเมื่อรัสเซียถูกถอดออกจากระบบ SWIFT ทำให้การค้าขาย การโอนเงินระหว่างประเทศก็ยากขึ้น คำถามคือ สองประเทศนี้รบกันมีผลอะไรกับประเทศไทย คำตอบคือมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม

แม้กระทรวงพาณิชย์ จะแจ้งว่าปัญหาวิกฤติของรัสเซียและยูเครน คงมีผลต่อไทยมากนัก เนื่องจากตัวเลขที่ส่งออกไปยังรัสเซียมีสัดส่วนเพียง 0.38% ส่งออกไปยูเครน 0.04 % และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกคือ ยางรถยนต์ อาหารแปรรูป อัญมณี เครื่องสำอาง
หลังเกิดสงครามเราได้เห็นแล้วว่า น้ำมันแพงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากกับประเทศที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวจากโควิดได้ประเทศไทย ที่ยังไม่พร้อมจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย เพราะเมื่อน้ำมันแพงขึ้นที่เหลือจะแพงตามขึ้นมาหมด เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนของสินค้าทุกประเภท
จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เวลามีสงครามเกิดขึ้นมันมักจะนำไปสู่เงินเฟ้อ และบางครั้ง ภาวะเศรษฐกิจจะถดถอย มันขึ้นอยู่กับว่าสงครามนี้จะนานแค่ไหน? สงครามสั้นๆก็จะเกิดเงินเฟ้อระยะสั้น เศรษฐกิจจะยังไม่ถดถอย แต่ถ้ารบกันนาน โอกาสเศรษฐกิจถดถอยจะมีสูง

แล้วสงคามก่อให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
1.เงินเฟ้อ เพราะไม่สามารถขนส่งน้ำมันได้ตามปกติ ทำให้น้ำมันขาดตลาด ราคาจึงสูงขึ้น และแร่ลิเทียม ซึ่งอยู่ในแบตเตอรี่ มือถือ แบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันก็มีราคาสูงขึ้นมาก
2.ค่าเงินตก อย่างรัสเซียเองตั้งแต่เกิดสงครามจะเห็นว่า ค่าเงินของรัสเซียตกลง 90 % แปลว่าถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท มูลค่าจริงๆอาจเหลือแค่ 1 แสนบาท ทั้งๆที่รัสเซียขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 20 % เพื่อหวังว่าคนจะเอาเงินไปฝากไม่ถอนเงินออกมา เพราะถ้ากอนเงินหมดธนาคารก็จะล้ม แต่การที่ค่าเงินร่วงถึง 90 % ก็แปลว่าแม้อยู่เฉยๆก็จนลงแล้ว
3.เกิด Shrinkflation ยกตัว อย่างเช่นขนมถุงหนึ่งราคา 10 บาท เคยใส่ขนมในถุง 10 ชิ้นตอนนี้ลดลงเหลือ 7 ชิ้น นี่คือปรากฏการณ์ของShrinkflation คือไม่ขึ้นราคาแต่ลดปริมาณของลง จึงถือว่าเป็นเงินเฟ้ออย่างหนึ่ง เพราะคุณจ่ายเงินเท่าเดิมแต่ได้ของน้อยลง
4.การฉวยโอกาส เวลาที่เกิดเงินเฟ้อ ต้นทุนต่างๆก็สูงขึ้น ซึ่งต้นทุนอาจเพิ่มขึ้น 10 % ก็ควรจะบวกราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแค่ 10 % แต่งบางบริษัทถือโอกาสบวกเพิ่มขึ้น 20 % แสดงว่าช่วงแบบนี้บริษัทที่ฉวยโอกาสสามารถทำกำไรได้มากกว่าช่วงเวลาปกติเสียอีก
และทั้งหมดนี้ทำให้เราเข้าใจในพื้นฐานว่าทำไมของถึงแพงขึ้นถึงเกิดเงินเฟ้อขึ้น ดังนั้นคำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วเราจะลงทุนอย่างไรดีในช่วงที่ตลาดผันผวนเช่นนี้ ติดตามบทความในตอนที่ 2 ที่เราจะนำเรื่องราวของ 9 สินทรัพย์ที่น่าลงทุนในช่วงสงคราม มาแบ่งปันคุณกันค่ะ
#สงครามทำพิษเศรษฐกิจ #รัสเซีย-ยูเครน #การลงทุน