ธุรกิจกำลังจะเปลี่ยนไป การขายของออนไลน์ ที่ประเทศจีน ไปถึงไหนกันแล้ว ตอนที่ 2

ธุรกิจกำลังจะเปลี่ยนไป การขายของออนไลน์ ที่ประเทศจีน ไปถึงไหนแล้ว ตอนที่ 2

 นอกห้องเรียนธุรกิจในตอนที่ 1 เรื่อง ธุรกิจกำลังจะเปลี่ยนไป การขายของออนไลน์ ที่ประเทศจีน ไปถึงไหนกันแล้ว กับแขกรับเชิญพิเศษ คุณบุญชัย ลิ่มอติบูลย์ ได้มาแบ่งปันเล่าเรื่องราวของโลก อีคอมเมิร์ซ ธุรกิจออนไลน์ที่แตกต่างของประเทศไทยและประเทศจีนในช่วงต้นไปแล้ว บทความนี้เรามาติดตามกันต่อว่ามีอะไรที่เรายังไม่รู้อีกบ้าง

คุณบุญชัย จากครั้งที่ ได้พูดถึง กลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ที่แตกต่าง ของPinduoduoที่ว่าเขาให้สินค้าวิ่งหาลูกค้า ไม่ใช่ให้ลูกค้าวิ่งหาลูกค้าโดยการชวนเพื่อมาซื้อสินค้าที่เหมือนกันนั้น ทำให้ แพลตฟอร์มนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว และอีกอย่างคือ แพลตฟอร์มนี้เขาไม่เน้นเรื่องแบรนด์

เขามีสินค้าราคาถูกเยอะมาก เพราะประเทศจีนเป็นโรงงานของโลก มีโรงงานมากมายที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพพอใช้ แต่บางทีผลิตมามากขายได้ช้า โรงงานอยากได้เงินทุนกลับมา เขาก็เลยมาเล็งขายสินค้าที่Pinduoduo ทำราคาอาจจะเท่าทุนเลยเพื่อปล่อยสินค้าที่คงค้างในสต็อกออกไปให้เร็วที่สุด

ดังนั้นmildest ของลูกค้าก็คือเข้ามาหาของถูก ไม่ได้สนใจเรื่องแบรนด์เท่าไหร่แต่ว่าของอันดีคุณภาพใช้ได้ดี หรือถ้าใช้ได้ไม่ดีก็ทิ้งไป ไม่เสียดายเพราะมันราคาถูก ทำให้สินค้าแบรนด์ใหญ่ๆที่อาจจะมีสินค้าล้นสต็อกอย่างจะรีบปล่อย เช่นสินค้าเครื่องสำอางที่ใกล้จะถึงวันหมดอายุ แต่อยากขายเอาเงินทุนกลับมาอาจจะขาดทุนนิดหน่อยแต่ก็ดีกว่าปล่อยให้หมดอายุก็จะมาขายในPinduoduo

อ.นพ แล้วที่จีนมีการไลฟ์ขายของเหมือนเมืองไทยไหมครับ

คุณบุญชัย จริงๆเดลการไลฟ์ขายของก็มาจากเมืองจีนทั้งนั้น และไม่ว่าจะเป็น Lazada หรือ shopee ต้นทางก็มาจากประเทศจีนทั้งนั้น ยกตัวอย่างอย่าง แพลตฟอร์มของ Lazada ที่คนไทยหลายคนก็คงรู้ว่าแบล็คอัพของเค้าก็คือ อาลีบาบา ทีมพัฒนา ทีมโปรแกรมของเค้าอยู่ที่เมืองจีนหมดเลย

เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นเทรนที่เมืองจีนเค้าก็จับยัดเข้ามาในappของ Lazada ด้วย Shopee แบล็คอัพของเค้า ต้นทุนเงินทุนของเค้าก็มาจากประเทศจีนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นฟังก์ชั่นต่างๆที่มีในเมืองจีนก็อยู่ในappที่ขายที่บ้านเราเหมือนกัน

อ.นพ ขอให้คุณบุญชัยช่วยกลับมาตอบคำถามใหญ่ของการสัมภาษณ์ขอบทความในครั้งนี้ว่า คุณบุญชัยคิดว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยจะเป็นเหมือนที่จีนไหมครับ

คุณบุญชัย : อนาคตของอีคอมเมิร์ธแพลตฟอร์มในเมืองไทย ผมเชื่อว่า จะต้องมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นแน่นอน ยกตัวอย่างยกตัวอย่าง แพลตฟอร์ม MOOMALL ที่ผมทำอยู่ในประเทศไทยก็โมเดลที่ใกล้เคียงกับที่เมืองจีน ซึ่งเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วมาก ซึ่งโมเดลสินค้าของบริษัทนี้ก็คือ เป็นอีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้าทั่วไปเลย

แต่เค้าใช้วิธีการทำตลาดแบบ เน็ตเวิร์คมาร์เก็ตติ้งคือคล้ายๆการขายตรง ซึ่งการขายตรงจริงๆแล้วเป็นโมเดลที่ดีมาก เพียงแต่ว่าถ้าเป็นธุรกิจขายตรงเลยอาจจะมีสินค้าที่จำกัด ซึ่งบริษัทนี้ก็ใช้หลักของขายตรงคือนำกำไรไปให้ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคไปชวนเพื่อนๆเขามาซื้อต่อ คือแทนที่จะนำไปจ่ายค่าโฆษณาก็ให้เขาเอาไปแนะนำเพื่อนแล้วแบ่งส่วนแบ่งกันไป

ซึ่งแพลตฟอร์มของบริษัทนี่คือ ถ้านาย A ชวนนาย Bมาซื้อไปไม่ว่าจะซื้ออะไรนายA ยังได้ผลประโยชน์ตลอดซึ่งก็ไม่มากนักเพราะเอากำไรมาซอยเป็นส่วนเล็กๆกระจายกันไปแต่มันได้ต่อเนื่อง และถ้าเกิดนาย B ไปชวนนายC ต่อไปอีก นายCเข้ามาซื้อทั้งนายA และนายB ก็ได้ประโยชน์ คือแทนที่จะเป็นขายตรงที่ต้องซื้อเฉพาะแบรนด์เดียว แต่อันนี้คือจะซื้อของอะไรก็ได้ก็จะได้ส่วนแบ่งเหมือนขายตรง

อันนี้เป็นโมเดลที่เกิดขึ้นใหม่ในประเทศจีน ซึ่งตอนที่ผมเอาสินค้าเข้าไปขายที่เมืองจีน 5,000 ชิ้นโดยไปขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ของที่เมืองจีน ผมก็ประเมินว่าใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ก็คงหมด แต่ปรากฏว่า ขายเพียง 8 นาทีสินค้าหมดแล้ว ชี้ให้เก็นของพลังลูกค้าของแพลตฟอร์มที่มีอยู่ในเมืองจีน ผมก็เลยกลายเป็นนักธุรกิจไทยที่เอาสินค้าไปขายในจีน เมื่อประสบความสำเร็จผมก็เลยเอาโมเดล MOOMALL เข้ามาทำในประเทศไทย

#ขายของออนไลน์ #ประเทศจีน #การลงทุน

Our Partner