ในบทความ วิธีจัดการหนี้ฉบับคนรวย ตอนที่ 1 ได้เข้าใจแล้วว่าทำไมคนรวยยังเป็นหนี้ทั้งมีมีเงิน มาติดตามต่อในบทความนี้ ว่า แล้วเมื่อมีหนี้แล้วคนรวยเขามีวิธีจัดการอย่างไรกันบ้างไปดูกันเลย

วิธีจัดการหนี้แบบคนรวย
ข้อแรก ต้องมีสติ ด้วยการรู้จัก เพิ่มรายได้ ควบคุมรายจ่าย ควบคุมหนี้ และไม่ก่อหนี้เพิ่มขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นของหลายๆคนคือ มีหนี้บ้าน หนี้รถอยู่แล้ว แต่ยังอยากได้โน่นนี่เพิ่ม สร้างหนี้บัตรเครดิต ทำให้ถึงจุดเกินตัว ผ่อนไม่ไหว ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่คุณต้องทำก็คือการควบคุมการใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย เช่นตอนรายได้หลักหมื่นนั่งรถประจำทาง พอรายได้ 5 หมื่นนั่นรถเมล์ไม่ได้แล้ว ต้องนั่งรถส่วนตัว รายจ่ายมากขึ้น เงินเก็บยังไม่มี พอมีเป็นแสนก็เก็บไม่ได้อีก เพราะรถต้องหรูขึ้น คอนโด บ้านต้องใหญ่ขึ้น พอมีหลายแสนก็ยังไม่ได้อีก เพราะมีลูก การศึกษาลูก การดูแลพ่อแม่ ค่ารักษาพยาบาลในครอบครัว เที่ยวดีกินดี ทุกอย่างดีหมดเลย แต่ไม่สามารถหาเงินเพิ่มได้ คุณก็จะมีปัญหาตลอดชีวิต ถ้ายังไม่ลดความฟุ่มเฟือย

ข้อที่ 2 ต้องวางแผนทางการเงิน รู้จักบันทึกรายรับ-รายจ่าย และอะไรก็ตามที่มีการกู้มา
ต้องคำนวณเลยว่าดอกเบี้ยเท่าไหร่ ต้องผ่อนอะไรบ้าง ถ้าคุณได้เขียนตัวเลขพวกนี้ออกมาให้เห็น คุณจะมีสติมากขึ้น คุณจะเห็นว่าบางเรื่องก็ไม่จำเป็น นอกจากนั้นคุณต้องรู้จักจัดทำงบประมาณว่า ถ้าคุณมีเงิน 100 บาทคุณต้องแบ่งไปทำอะไรบ้าง ซึ่งอย่างแรกก็คือจะออมเท่าไหร่? หลังจากนั้นก็ไปจ่ายหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้เครดิต เท่าไหร่ถ้าคุณวางแผนเขียนตัวเลขเหล่านี้ออกมาชัดเจน คุณจะใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
ข้อที่ 3 ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยมากที่สุดก่อน
หลายคนสับสนว่าจะผ่อนชำระอะไรก่อนดีระหว่างหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุด หรือหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด กรณีนี้ถ้าต้องเลือกโปะหรือเลือกจ่าย คุณต้องเลือกจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน มันเป็นหลักการทบต้น สมมุติว่าหนี้ของคุณอยู่ที่ 15 %ต่อ ปี แต่ผลตอบแทนของคุณได้ปีละ 5 % นั่นคือมันไม่สมดุลกัน ดังนั้นหลักการคือ คุณต้องไปโปะหนี้ที่ดอกเบี้ยมันสูงก่อน ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นหนี้มหาศาล ซึ่งโดยส่วนใหญ่พวกกลุ่มดอกเบี้ยสูงๆ มันมักจะอยู่ในประเภทสินเชื่อบุคคล กับบัตรเครดิต ดังนั้นจึงต้องระวังaq

ข้อที่ 4 รีไฟแนนซ์
จำไว้ว่าการที่คุณไม่รีไฟแนนซ์มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและเสียหายอย่างมาก เช่น บ้านคุณควรต้องรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปี นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ และเป็นเรื่องถูกต้องที่สุดทางการเงิน เช่นคุณอยู่ผ่อนอยู่กับแบงก์ A มา 3 ปีแล้ว พอใกล้ 3 ปีคุณก็ต้องไปมองหาแล้วว่า แบงก์อื่นๆ เขามีโปรโมชั่นอะไรบ้าง ความจริงคือถ้าคุณผ่อนอยู่กับแบงก์ A แน่นอนว่าเขาก็ไม่อยากสูญเสียคุณไป แต่ถ้าคุณไปคุยกับแบงก์ B,C, D แล้วเขามีข้อเสนอที่ดีกว่าให้คุณ คุณก็เอาข้อมูลไปบอก แบงก์ A ว่า เขาให้มาแบบนี้คุณสู้ได้ไหม ถ้าเขาสู้ได้ก็อยู่ต่อ แต่ถ้าเขาสู้ไปไหวเราก็ไปเป็นลูกหนี้แบงก์อื่นที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า ให้เราจำไว้ว่าเรามีอำนาจต่อรองได้มากกว่า
ข้อที่ 5 เจรจาต่อรองหนี้ ถ้าภาวะหนี้ของคุณเข้าขั้นโคม่า
คุณสามารถเข้าไปเจราจากับสถาบันการเงินต่างๆได้ คุณต้องเข้าใจว่าทุกสถาบันการเงินเขาไม่อยากมี NPL ( หนี้เสีย ) ทุกอย่างจึงต่อรองได้ คุณต้องเขาไปประหนี้ประนอมหนี้ หรือลดดอกเบี้ยชั่วคราว หรืออาจขอจ่ายแค่ดอกก่อนยังไม่จ่ายต้น การทำแบบนี้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายที่คุณและสถาบันการเงิน ดังนั้นอย่าไปกลัวที่จะไปเจรจา
การมีหนี้ คือการปล้นอนาคตของตัวเอง อย่าคิดสบายในวันนี้ แล้วไปลำบากในวันหน้า ดังนั้นจงเปลี่ยนจากการสะสมหนี้เสีย เป็นการสะสมหนี้ดีบ้าง ซึ่งถ้ามีหนี้ดีจำนวนมาก คำว่า “หนี้” ก็ไม่ใช่คำที่ทำให้ชีวิตคุณติดลบ หรือเป็นคำที่เป็นปัญหาในชีวิตของคุณอีกต่อไป
#วิธีจัดการหนี้ #คนรวย #การลงทุน