บทความนี้อ้างอิงจาก การเสวนา พูดคุยในหัวข้อ เมื่อความมั่งคั่งของโลกเปลี่ยนไป ประเทศไทยจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร ?” ซึ่งเป็นโครงการเสวนาระดับปริญญาเอก โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเสวนา 2 ท่านคือ รศ. ดร..ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีสถาบันเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต และ อ.ทวีสุข ธรรมศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

พิธีกร ….ในเมื่อความมั่งคั่งของประเทศ ถูกสูบไปโดยไม่รู้ตัว แล้วประเทศไทยจะอยู่ยังไงบนโลกใบนี้
อ.ทวีสุข ….เราอยู่ในช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนโลกใหม่ แต่ปัญหาคือคนที่ดูแลยังอยู่ในโลกเก่า แต่ยังเป็นโลกของสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยว่าต้องเป็นผลประโยชน์ของตัวเอง เรากำลังจะสูญเสียศตวรรษหน้าด้วยการถูกครอบครองจากต่างประทศหรือเปล่า ตอนนี้ยังสามารถที่จะสู้ทัน ถึงแม้ว่าเป็นผู้คนที่พร้อมจะรับเปลี่ยนแปลงเราก็มีน้อยมาก กำลังทุนทรัพย์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เราก็ถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์สูงมาก ดังนั้นแหละตรงนี้มันจะเป็น จุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ต่อจากนี้เลยว่า 10 ปีนี้ เราจะเปลี่ยนผ่านอย่างไร
รศ. ดร.ณรงค์…. สิ่งที่ต้องเปลี่ยนตัวแรกคือ เปลี่ยนสมอง เปลี่ยน มายเซต ต้องเข้าใจเหมือนที่ อ.ทวีสุขพูด เข้าใจโลกใบนี้ว่าความจริงคืออะไร และสิ่งที่ต้องเปลี่ยนอย่างที่ 2 คือต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ และ3.ต้องสร้างดุลยภาพ โดย.ดุลยภาพที่ 1 ต่อไปต้องให้ความสำคัญกับฐานรากมากขึ้น ต้องสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจฐานรากของครัวเรือนกับธุรกิจ เพราะธุรกิจของเรามันถูกครอบงำโดยคนต่างชาติหมดแล้ว เหลือแต่ครัวเรือนที่ยังไม่ถูกถูกครอบงำ ทำอย่างไร?ให้ครัวเรือนเป็นอิสระจากตลาดมากขึ้น ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยไม่ต้องพึ่งตลาด เอาแค่ว่าใน 100 บาท พึ่งตลาดแค่ 75 บาทพอแล้ว อีก 25 บาท นำเข้าตัวเองทำให้ครัวเรือนมีความเข้มแข็งมีดุลยภาพกับธุรกิจ ดุลยภาพอันที่ 2 ก็คือว่า เราต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการแข่งขันกับการแบ่งปันให้ได้ เราพูดแต่ว่าแข่งขัน แต่ไปแข่งขันกับอะไรล่ะ ในเมื่อมันมีมือยักษ์ครอบอยู่ไปแข่งอะไรกับมัน ต้องทำตัวเล็กตัวน้อยอยู่ได้ ให้แต้มต่อ ไม่ใช่เอาแต่แข่งขันๆตัวเล็กตายหมด ตอนนี้ซื้อออนไลน์เงินทองมันกลับไปจีนหมดนะ 10 บาท20 บาท สินค้าจีนตอนนี้จาก 200 บาท เหลือ 50 บาท แล้วเอเยนจะอยู่ได้ยังไง ต้องมีแต้มต่อให้เค้า เราต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการแข่งขันและการแบ่งปัน รัฐบาลต้องจัดการแบ่งปันให้มากขึ้นเรื่องภาษีคนรวย เรื่องการให้แต้มต่อตัวเล็กตัวน้อยต้องทำให้ได้ เศรษฐกิจถึงจะอยู่รอดได้ และดุลยภาพอันที่ 3 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก คือต้องปรับโครงสร้างความร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจภายใน และเศรษฐกิจภายนอก ที่ชอบพูดว่า ฉันต้องพึ่งส่งออก ฉันต้องพึ่งท่องเที่ยว เหล่านี้ก็ยังพึ่งอยู่นะ แต่ลดให้มีดุลยภาพให้เข้ากับภายในให้ได้ ขนาดจีนเองยังต้องปรับปรุงเลยว่า เขาต้องพึ่ง ตลาดภายในให้มากกว่าตลาดต่างประเทศแล้ว ทุกประเทศคิดอย่างนี้หมด แต่เราคิดว่าจะส่งอกเป็นตัวนำอยู่มันจะไหวหรือ

…ต้องเปลี่ยน มายเซต เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ และต้องเปลี่ยนการปกครอง เราต้องมีผู้นำที่เข้าใจ ต้องมีโลกทัศน์ที่ชัดเจน คือ รู้สึกรู้กว้าง ต้องมองโลกให้เห็น ต้องมองให้เห็นถึงภายในครอบครัวเลยนะ เหมือนที่จีนเขามองเห็นว่า ครอบครัวนี้เป็นยังไง คนนี้เป็นยังไง ขับรถอะไร เราต้องรู้ขนาดนั้นจึงจะแก้ปัญหาได้ เพราะการจะแก้ปัญหาคนยากจนที่ได้ผล ต้องมีสัดส่วน1 เจ้าหน้าที่รัฐ 1 นักวิจัย ต่อ 4 ครัวเรือน ซึ่งใน 4 ครัวเรือนต้องรู้รายละเอียดของครอบครัวว่าเป็นยังไง อย่างนี้จึงแก้ได้ ดังนั้นการปรับทั้งหมดคือปรับ มายเซต ปรับโครงสร้าง แล้วก็ปรับภายในภายนอกให้สมดุล อย่างนี้ ถึงจะไปรอด
อ.ทองสุข … ตรงนี้แหละที่บอกว่าถึงจะเป็นวิกฤติ แต่มันก็สามารถพลิกได้ แต่ต้องมีวิสัยทัศน์ และความกล้าหาญตรงนี้สำคัญที่สุด ซึ่งนายหลวงรัชกาลที่.9 พระองค์ท่านบอกว่า “ความขาดแคลนไม่ได้มีปัญหา หากมีปัญญาและความเพียร”
รศ.ดร.ณรงค์….ผมขอปิดท้ายด้วย พุทธภาษิตที่เกี่ยวกับการเป็นหนี้ที่ว่า อิณาทานํ ทุกขํ โลเก “การเป็นหนี้เป็นทุกข์ที่สุดในโลก อย่าได้เป็นหนี้เลย”
ขอขอบคุณ… โครงการสนทนาสาธารณะที่ทำให้ได้มองเห็นสถานการณ์โลกที่เป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อจะได้เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต แนวคิดแบบเก่าอย่างที่เคยเป็นมาแบบเข้าใจและมีสติ
*จบเนื้อหาของการแบ่งปันทั้ง 9 ตอน