การออมเงินเป็นความใฝ่ฝันของคนเกือบทุกคน แต่มีคนจำนวนน้อยที่จะใส่ใจวางแผนการอมเงินให้เป็นเรื่องจริงๆ
อะไรกัน ? ออมเงินต้องวางแผนด้วยหรือ!! ใช่ค่ะคุณต้องวางแผน คุณจะออมเงินไม่ได้เลย ถ้าคุณไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีเพราะถ้าคุณออมเงินแบบลอยๆ เหมือนอย่างที่คุณเคยทำมา วันนี้ออมบ้าง พรุ่งนี้ไม่ออม วันต่อไปค่อยออม และออมได้ไม่นานก็จะหยิบเงินออมออกไปใช้ ด้วยเหตุผลที่บอกตัวเองว่า มันจำเป็น ในที่สุดเงินออมไม่ค่อยงอกเงยขึ้นมาเท่าไหร่นัก แต่ยังพอเวลาที่ที่จะกลับตัวกลับใจ ถ้าคุณสนใจที่จะออมเงินจริงๆมาทางนี้
ก่อนจะไปวางแผนการเงินอื่น มาทำความเข้าใจความหมายของคำที่ต้องเกี่ยวข้องในการวางแผนทางการเงิน 3 คำนี้ก่อน

1.ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับชีวิต
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าการศึกษาลูก ค่าน้ำ ค่าไฟฯลฯ
2.ค่าใช้จ่ายในสิ่งที่อยากได้
คือไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อยากได้ เช่น การเที่ยวต่างประเทศ การไปช็อปปิ้งสิ่งของ ฯลฯ
3. เงินสำหรับออม ที่จะเก็บไว้เพื่ออนาคต
ที่นี้ก็มาดูการวางแผนการจัดการ ในตัวอย่างนี้ เราจะตั้งเงินรายรับเดือนละ 20,000 บาท เป็นโจทย์ในการคำนวณให้เห็นตัวอย่างการออม โดยเราจะใช้สูตร 50/30/20 มาบริหารจัดการทางการเงินตัวเลข 3 ตัวนี้คืออะไร

สมมุติว่าคุณรายรับได้เดือนละ 20,000 บาท
ให้แบ่งเงินรายรับออกเป็น 3 กอง
กองที่ 1 ตัวเลข 50 คือ 50 %ของรายได้ = 10,000 บาท สำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิต
กองที่ 2 ตัวเลข 30 คือ 30 % ของรายได้= 6,000 บาท สำหรับของที่อยากได้
กอง 3 ตัวเลข 20 คือ 20 % ของรายได้ = 4,000 บาท เงินออม
และลองคำนวณดูว่า ถ้าเราเริ่มออมเงิน ตั้งแต่อายุ 20 ปี เกษียณที่อายุ 60 หมายถึงเรามีเวลาออมเงินตามแผน 40 ปี ถ้าใช้สูตรนี้ อายุ 60 ปีเราจะมีเงินออมที่ 1.9 ล้านบาท
แต่ถ้าอยากจะมีเงินออมตอนเกษียณให้มากกว่านี้ ก็ลองมาใช้ สูตร 50/40/10 ดู
โดยตัวเลขตัวที่หนึ่ง ยังเป็นสิ่งของจำเป็น คือ 50
แต่ตัวเลขตัวที่ สองเปลี่ยนเป็นเงินออม คือ 40
ตัวเลขตัวสุดท้ายเป็นสิ่งที่อยากได้ คือ 10
ทีนี้ก็มาดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนสูตรเงินออมเป็น 40 % ของรายได้เมื่อเกษียน เราจะมีเงินออมเท่าไหร่
รายได้ 20,000 บาท ออม 40 % = 8,000 บาท
เกษียณ อายุ 60 ออมเงิน 40 ปี จะมีเงินออม 3.8 ล้านบาท

ดังนั้นจึงกลับมาที่จุดเริ่มต้น ว่า คุณวางแผนจะมีเงินออมตอนเกษียนเท่าไหร่ จากนั้นจึงคำนวณย้อนกลับมาที่อายุของคุณว่าเหลือเวลาอีกกี่ปีจึงจะเกษียน หารหลับไปที่รายปี รายเดือนที่คุณจะต้องออม ได้ตัวเลขแล้ว คุณก็ลุยตามนั้นเลย รับรองไม่พลาด
ความจริงแล้วไม่มีสูตรตายตัวสำหรับการบริหารจัดการเงินออมในอนาคตของคุณ แต่สิ่งที่คุณต้องทำคือตั้งโจทย์กับตนเองว่า อยากมีเงินออมตอนเกษียนเท่าไหร่ แล้วก็หารกลับอย่างที่แนะนำ
ถึงเวลาที่จะออมเงินเพื่ออนาคตในยามเกษียนกันหรือยังคะ ?
#ออมเงิน #การลงทุน #การออมเงิน #เทคนิคการเล่นหุ้น