“มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ สรุปประเด็นสำหรับคนมีหนี้บัตรเครดิต”

“มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ สรุปประเด็นสำหรับคนมีหนี้บัตรเครดิต” #การลงทุน

            ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับหลายๆคนที่กำลังเดือดร้อนเพราะสถานการณ์โควิด บางคนอาจจะโดนพักงาน ถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน จนทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน บวกกับการมีหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อ ที่จะต้องรับผิดชอบ บางคนอาจจะขาดการชำระมาหลายรอบบิลแล้วก็ได้

            และข่าวดีที่ว่านี้ก็คือว่า ธปท. ได้ร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม และผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 21 แห่ง จัดงาน “มหกรรมออนไลน์ไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล” ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 14 เมษายน 2564 โดยโครงการนี้ประชาชนที่มีหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีสถานะหนี้ดีที่ยัง

ผ่อนชำระปกติแต่เริ่มขาดสภาพความคล่องตัว หรือหนี้เสีย ที่ยังไม่มีการฟ้อง อยู่ระหว่างการฟ้อง หรือที่มีคำพิพากษาแล้ว ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ไกล่เกลี่ยปัญหากับเจ้าหนี้ได้ เท่ากับว่ามหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้นี้นั้นครอบคลุมลูกหนี้ทุกกลุ่ม เพราะไม่ว่าลูกหนี้จะมีสถานะไหนก็สามารถเข้าโครงการได้

รูปภาพจาก .relaxtrip2018.com

รายชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ 22 แห่ง ที่เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

  •  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  •  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพมหานคร
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • 8. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  •  ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
  • บริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
  • เทสโก้ โลตัส มันนี่ เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
  • บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
  • เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
  • อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
  • อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) 
  • บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
  • บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)

                        ความช่วยเหลือที่ลูกหนี้จะได้รับ

ลูกหนี้ที่สถานะยังดีอยู่ แต่เริ่มฝืดเคือง หรือค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน

แนวทางการชำระหนี้

  • บัตรเครดิต สามารถเปลี่ยนเป็นสินเชื่อผ่อนรายเดือน (Term Loan) มีระยะเวลาผ่อน 4 ปี (48 งวด) ลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 16% เหลือ 12%
  • บัตรกดเงินสด สามารถเปลี่ยนเป็นสินเชื่อผ่อนรายเดือน (Term Loan) มีระยะเวลาผ่อน 4 ปี (48 งวด) ลดอัตราดอกเบี้ย เหลือไม่เกิน 22%
  • สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทผ่อนรายเดือนที่มีดอกเบี้ยสูงถึง 25% สามารถขอลดดอกเบี้ยลงเหลือ 22% และลดค่างวดลงได้ 30% ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท.

ลูกหนี้ NPL ก่อนฟ้อง หรืออยู่ระหว่างฟ้อง

แนวทางการชำระหนี้

  • ผ่อนเฉพาะเงินต้น
  • จ่ายดอกเบี้ยแค่ 4-7% ระยะเวลาสูงสุด 10 ปี
  • เมื่อผ่อนจบจะยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้

ลูกหนี้ NPL ที่มีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว

แนวทางการชำระหนี้

  • ผ่อนจ่ายเฉพาะเงินต้น ไม่มีดอกเบี้ย
  • ผ่อนสูงสุด 5 ปี กรณีผ่อนเกินกว่า 3 ปี ต้องชำระเงินต้น 3 ปีแรก เกินกว่า 80% ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลาบังคับคดีคงเหลือ
  • ผ่อนจบ ยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้

รูปภาพจาก ddproperty

            เราสามารถเข้าร่วมมหกรรมครั้งนี้ได้ด้วยการลงทะเบียนผ่านเว็บไชต์ของสำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) รวมถึงผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วม หรือโทร 1213 เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 8.30 – 16.30 น. หรืออีเมล์fcc@bot.or.th

#การลงทุน #การออมเงิน #เทคนิคการเล่นหุ้น #ไกล่เกลี่ยหนี้

Our Partner