ข้อผิดพลาดของการลงทุนในกองทุนรวม ที่คนมักเข้าใจผิด

ข้อผิดพลาดของการลงทุนในกองทุนรวม ที่คนมักเข้าใจผิด

1.การลงทุนในกองทุนไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมาย คนส่วนใหญ่ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นกองทุน LTF หรือกองทุนรวม RMF ซึ่งจริงๆต้องดูด้วยว่ามันสอดคล้องกับแผนทางการเงินของเราหรือเปล่า

 สมมุติว่าคนลงทุนคนแรก วางแผนที่จะเกษียณ แล้วตอนนั้นเขามีอายุ 30 หมายถึงว่าเขาจะมีระยะเวลาการลงทุนไปอีก 30 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นสัดส่วนในการลงทุน เขาก็สามารถลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่มากได้ เพราะมีระยะเวลาในการลงทุนที่นานพอสมควร

ส่วนอีกคนอยากลงทุนเพื่อจะมีเงินเก็บไปท่องเที่ยว อาจจะในอีก 1 ปีหรือ 2 ปีข้างหน้า ซึ่งระยะเวลามันสั้น ก็สามารถปรับสัดส่วนในกองทุนรวมหุ้นน้อยหน่อย แล้วไปเน้นหนักในเรื่องกองทุนรวมที่เป็นตราสารหนี้

2.ไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจการกระจายความเสี่ยงที่ถูกต้อง การกระจายความเสี่ยงที่ดี ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของเรา ดังคำกล่าวที่ว่า ไม่ควรใส่ไข่ลงในตะกร้า 1 ใบ มีความหมายถึงว่า ถ้าคุณนำลงสินทรัพย์ทั้งหมดลงในตะกร้าหนึ่งใบ  หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน คุณก็อาจจะสูญเสียเงินทั้งหมดที่มี  

บางคนบอกว่างั้นก็ไปซื้อหุ้นกระจายไปหลายๆแห่ง ความจริงคือต้องมาดูก่อนว่า ตัวกองทุนรวมแต่ละแห่งนั้น มีสินทรัพย์ที่แตกต่างกันหรือเปล่า เช่น เป็นกองทุนตราสารหนี้ เป็นกองทุนรวมหุ้น กองทันรวมอสังหาริมทรัพย์ แล้วไปเจาะลึกว่าในแต่ละสินทรัพย์นั้น มีการกระจายตัวดีแล้วหรือเปล่า

3.การพยายามจับจังหวะตลาด คนส่วนมาก มักจะมีเงินซื้อกองทุนรวมในตอนสิ้นปี นั่นแปลว่า 1 ปี ซื้อ1 ครั้ง แบบนี้ถือว่าเป็นการไม่กระจาย เป็นการจับจังหวะตลาดที่ไม่ต่อยดี  เพราะเป็นการนำเงินทั้งหมดไปซื้อในจังหวะเวลาเดียวกันหมด ซึ่งการกระจายความเสี่ยงหรือการจับจังหวะที่ดี อาจจะใช้เทคนิคการลงทุนแบบ DCA (DOLLER COST AVERAGEX ก็คือการทยอยลงทุนในจำนวนเงินที่เท่าๆ  เช่น เราตั้งว่าปีนี้เราจะลงทุน 120,000 บาท เราก็ทยอยกระจายเลยว่า เราจะลงทุนเดือนละ10,000 บาท เพื่อตัดปัญหาเรื่องของการจับจังหวะตลาด

4.การเลือกกองทุนตามขนาดของกองทุน หลายคนเข้าใจผิดว่ากองทุนรวมที่ดีต้องมีขนาดกองทุนรวมที่ใหญ่ หรือมีเม็ดเงินในกองทุนที่เยอะมาก แต่จริงๆแล้วเรื่องของผลตอบแทน Performance ของกองทุนนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรเลย

5.การเลือกกองทุนโดยดูราคาจาก NAV (Net Asset Value) หรือราคาต่อหน่วยของกองทุนที่เราไปซื้อนั่นเอง ข้อสงสัยที่ว่า กองทุนรวมที่ราคา 10 บาท กับที่ราคา 20 บาท ถ้าซื้อที่10 บาทคือได้ราคาถูกกว่าใช่ไหม ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ เพราะตัวกองทุนรวมส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มที่ราคา 10 บาท แต่กองทุนที่เปิดราคา 20 บาท อาจเป็นเพราะระยะเวลาของกองทุนอาจจะเปิดมาแล้ว 20 ปี ทำให้สินทรัพย์ในกองทุนขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังนี้เราต้องดูภายในของกองทุนว่า Performance  หรือผลตอบแทนของกองทุนนั้นที่ผ่านมาเขาทำได้ดีหรือเปล่าไม่ใช่ดูแค่ราคา NAV

6.ดูแค่ผลตอบแทนย้อนหลัง คนส่วนใหญ่จึงไปดูว่ากองทุนรวมที่สนใจ ผลตอบแทนเป็นยังไงบ้างดูว่าที่ผ่านมาได้กี่ % ย้อนหลังไป 5 ปี 10 ปี แต่นั่นไม่ใช้คำตอบสุดท้าย เพราะคุณต้องดูเรื่องของความเสี่ยงที่มากับผลตอบแทนที่ได้รับด้วย อีกอย่างที่ต้องดูด้วยก็คือ Maximum Drawdown หรือความเสียหายการขาดทุนที่เคยเกิดขึ้นมากที่สุดกับกองทุนนั้น

เช่น ถึงแม้ตัวกองทุน A จะให้ผลตอบแทนดีถึง 10 % แต่เคยขาดทุนสูงสุดถึง 30-40% คุณก็อาจจะต้องสูญเสียผลที่จะได้รับ

เรื่องสุดท้ายที่ต้องดูก็คือค่าธรรมเนียม เปรียบเทียบให้เห็นตัวอย่าง

กองทุน เอ ให้ผลตอบแทน 10 % ต่อปี กองทุนบี ก็ได้ 10 %ต่อปี

จึงต้องวัดกันที่ค่าธรรมเนียม และเลือกกองทุนที่จ่ายค่าธรรมเนียมถูกกว่า

7.วัดผลและคอยติดตามผลงานของกองทุนรวมที่เราลงทุน ซึ่งต้องติดตามสม่ำเสมอ เพราะในปีแรกผลตอบแทนอาจจะดี แต่ปีต่อๆไปก็ต้องตอยตวจสอบว่า Performanceของกองทุนนั้นยังดีอยู่หรือเปล่า โดยการเทียบเคียงกับกองทุนที่คล้ายกันว่า กองทุนไหนดีกว่า ถ้ากองทุนที่เทียบเคียงดีกว่าก็อาจต้องมีการสับเปลี่ยน และอีกอย่างที่ต้องติดตาม เพื่อที่จะปรับสมดุลของสัดส่วนให้คงที่เสมอ เช่นคุณตั้งใจละลงกองทุนหุ้นในสัดส่วน60% กองทุนคราสารหนี้ 40 % พอลงทุนไปสักพักผลตอบแทนจากกองทุนหุ้นได้มามากมายคุณก็เลยก็เลยปรับสัดส่วนไปที่ กองทุนหุ้น 80% กองทุนตราสารหนี้ 20 ซึ่งในความเป็นจริงๆแล้วควรสัดส่วนควรคงที่อยู่ที่สมดุลเดิม60/40

8.การไม่เริ่มต้นลงมือทำ บางคนอ้างว่าต้องมีเงิน 50,000 หรือ 100,000 ก่อนถึงจะลงทุนได้  ไม่ใช่เลย เพราะเดี๋ยวนี้ใช้เพียงเงินหลักพันก็สามารถเริ่มต้นลงทุนและวางแผนทางการเงินได้เลย ไม่ต้องมีข้ออ้าง ” เริ่มต้นเร็วก็รวยได้เร็ว” เพราะการลงทุนมีผลตอบแทนที่ทบต้น ถ้าคุณเริ่มต้นวันนี้แค่หลักพัน ใน 10 ปีข้างหน้ามันอาจจกลายเป็นเงินหลักหมื่นหรือหลักแสนได้

นั่นคือสิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดทั้งหมดที่คุณไม่ควรทำอีก แต่สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ

มีเป้าหมายทางการเงิน,ศึกษาข้อมูล, มีวินัย และ เริ่มต้นลงมือทำได้เลย

#การลงทุน #การออมเงิน

Our Partner