การออมเงิน มีอยู่สองแบบ คือ ออมแบบหลักและออมแบรอง การออมทั้งสองแบบเป็นอย่างไรและมีวิธีไหนกันบ้าง
การออมแบบหลักคือ
- ต้องออมก่อนใช้ โดยเก็บออมตาม %ของรายรับ อย่างเช่นออม 10 %ของรายรับ หรือมากกว่า โดยดูภาระค่าใช้จ่ายของเราด้วย โดยการออมแบบหลักเป็นการออมแบบเรียบง่าย แต่ต้องมีวินัย

การออมแบบ รอง วันนี้มี 7 วิธีที่จะเอามาฝากดังนี้
การออมแบบรองไม่ต้องตั้งเป้าหมาย เป็นการออมไปเรื่อยระหว่างทาง เป็นการออมแบบเสริม ด้วยวิธีที่สนุกๆ และท้าทายดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1 ออมตามเลขท้ายสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1
โดยออมตามเลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 หลายคนทำแล้วมีเงินเพิ่มเยอะ ทำต่อเนื่อง ครึ่งปี 1 ปีจะมีเงินเพิ่มเยอะ เป็นวิธีที่แปลก ซึ่งถ้าเก็บจริงๆจะได้เดือนละ 2 ครั้ง ยกตัวอย่างเช่น งวดแรก เลขท้าย 234 พองวดวันที่ 16 เลขท้ายออก 999 ก็ออมตามนั้น ทำลืมๆไป ทำไปสักปีหนึ่ง ได้เงินก้อนแน่นอน
วิธีที่ 2 ชาเลนจ์ตัวเองด้วยการเก็บแบงค์ 1,000 จำนวน 100 ใบ ก็คือ เก็บเงินแสนแรกนั่นเอง ซึ่งถ้าคิดถึงเป้าหมาย มือใหม่อาจจะดูว่ามันยากเกินไปก็ใช้วิธีชาเลนจ์ จะดูง่ายและสนุกขึ้นไม่ซับซ้อน แต่ถ้าเราพูดว่าเราจะเก็บแบงก์ 1,000 ร้อยใบพอพูดออกมาแล้วมันจะดูง่าย และเราจะได้เงินแสนก้อนแรกได้เร็วโดยไม่รู้ตัว
เหมือนกับการหลอกตัวเองนิดๆ เป็นการทยอยสะสม มีคนใช้วิธีนี้เยอะ เพราะพอเราเก็บไปเรื่อยๆจากไม่มีเลย พอมันมากขึ้นเราจะรู้สึกไม่อยากใช้ เพราะเสียดายเอง เพราะอยากพิชิตเป้าหมาย เหมือนอารมณ์ว่าเราอยากเล่นเกมส์ อยากเอาชนะ

วิธี 3 การเก็บสะสมแบงก์ใหม่ หรือแบงก์รุ่นเก่าที่เค้ากำลังจะเลิกผลิตไปแล้ว เราก็เก็บสะสมไปเรื่อยๆไม่ต้องคาดหวังว่าจะเก็บได้ปีล่ะเท่าไหร่ เรื่องของสะสมนี่แปลก ยิ่งสะสมได้มาก ยิ่งมีความสุข
วิธีที่ 4 การเก็บสะสมแบงก์เลขสวย โดยดูเลขท้ายของแบงก์ที่สวย หรือที่เรารู้สึกชอบ เช่นเลขมงคล เลขตอง เลขวันเกิด ปีเกิด เลขประจำตัวของเรา เป็นวิธีสนุกๆขำๆ แต่ได้เงินจริง
วิธีที่ 5 การโอนเงินปัดเศษในบัญชี วิธีนี้จะเหมาะกับคนที่ไม่ใช้ธนบัตร เหมาะกับคนที่ใช้เงินแบบดิจิตอล โอนจ่าย การโอนเงอนปัดเศษก็สนุกดี เช่น มียอดเงินเข้ามา 10,543 บาท เราก็โอนเงิน 543 บาทไปเก็บไว้ในอีกบัญชีหนึ่ง ทำแบบนี้ เงินอีกบัญชีก็จะมีสะสมมาเรื่อยๆ ทำได้ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา

วิธี 6 การไม่ใช้เหรียญ ออกไปข้างนอกได้รับเงินทอนมาเท่าไหร่ เอาออกมาจากกระเป๋าให้หมดแล้วมาหยอดใส่กระปุก แยกกระปุก 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 25 สตางค์ วิธีนี้เหมาะกับผุ้เริ่มต้นที่มีรายได้ยังน้อยรายจ่ายยังเยอะ ที่เก็บเท่าไหร่เก็บไม่ได้สักทีวิธีนี้เป็นการฝึกออมแบบเบายังไม่ต้องไปดูจำนวนเงินที่จะได้ เพราะพอสะสมได้มากขึ้นเราจะรู้สึกว่า มากกว่าเราก็ทำได้
วิธีที่ 7 การเก็บแบงก์ 50 วิธีนี้หลายคนเคยทำกันมาแล้ว คือถ้าเราเจอแบงก์ 50 เราจะไม่ใช้เลย เก็บเอาไว้ เจอแล้วเก็บทันที บางคนอาจบอกว่ามันหายาก ก็ให้ใช้วิธีอื่นๆที่แนะนำมาแทน
เป็นอย่างไรบ้างคะ ชอบใจวิธีไหน เลือกเอาวิธีได้ตามใจชอบเลยค่ะ แต่ผู้เขียนขอไปชาเลนจ์เก็บ แบงก์ 1,000 ให้ครบ 100 ใบ เก็บเงินแสนก้อนแรกดีกว่า มาชาเลนจ์แข่งกันไหม?