บางคนไม่แน่ใจว่า ควรจะเอาเงินฝากมาซื้อสลากออมสิน สลาก ธกส./ ธอส. ดีไหม ถือเป็นการลงทุนหรือเปล่า ? แล้วถ้าซื้อ ถูกรางวัลจะได้รับเงินยังไง? และถ้าไม่ถูกยังได้ดอกเบี้ยอยู่หรือเปล่า? มีคำถามมากมายเกี่ยวกับสลาก วันนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้ และมาทำคามรู้จักกับสลากทั้ง 3 แบบกันค่ะ
สลากออมสิน สลาก ธกส. สลาก ธอส. ภือเป็นเครื่องมือในการลงทุนทางการเงินรูปแบบหนึ่ง มาทำความเข้าใจกันว่า ขั้นตอนการลงทุนของสลากทั้ง 3 ทั้งทำอย่างไร มีรายละเอียดของการลงทุนอย่างไร วันนี้เรามาสรุปโดยสังเขปกัน
การลงทุนสลากทั้ง 3 แบบ คล้ายๆกับการฝากเงิน ออมเงิน แต่ในระหว่างทางเราสามารถลุ้นรางวัลไปด้วย และเมื่อถึงครบกำหนดระยะเวลาที่เราซื้อ เราก็จะได้เงินต้นคืนมาพร้อมกับดอกเบี้ย แต่ถ้าเกิดถ่ายถอนก่อน หรือถือยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลา บางทีเราอาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือได้รับก็เป็นปริมาณที่น้อยลง

เป้าหมายหลักของคนที่ซื้อสลาก หรือลงทุนในสลากนี้ก็คือ
1.เพื่อเก็บเงิน
2.เพื่อลุ้นรางวัล
ถ้าใครพูดว่าฝากสลาก เพื่อจะเอาดอกเบี้ย อยากได้ดอกเบี้ยสูงๆ อันนี้ไม่ตอบโจทย์ เพราะถ้าพูดกันจริงๆแล้ว ดอกเบี้ยของการซื้อสลากพวกนี้เอาไปฝากประจำให้ดอกเบี้ยมากกว่าเยอะ แต่เราก็ต้องดูเป้าหมาย ว่าการฝากประจำมันไม่มีอะไรให้เราลุ้น แต่ถ้าถามว่ามันเหมือนสลากกินแบ่งรัฐบาลไหม? คำตอบคือไม่เหมือน เพราะสลากกินแบ่งรัฐบาล ถ้าเราซื้อแล้วไม่ถูก เงินเราจะสูญเปล่าทันที แต่สลากทั้ง 3 แบบถ้าเราไม่ถูกในงวดนี้ เราก็จะสามารถลุ้นได้เรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดสัญญา เช่นเราซื้อแบบ 3 ปี เราก็มีโอกาสได้ลุ้นตลอด 3 ปี ทุกงวด โดยที่ว่าต่อให้เราจะถูก หรือไม่ถูกเงินต้นของเราก็ยังอยู่
หลักการซื้อขายสลาก ทางธนาคารก้จะขายให้เราเป็นหน่วย ยกตัวอย่างสลากออมสินดิจิตอลแบบ 1 ปี ก็จะอยู่ที่ราคาหน่วยละ 20 บาท ถ้าเราเอาเงินไป 20,000 ไปซื้อแบบดิจิตอล 1 ปี เราก็จะได้กลับมา 1,000 หน่วยโดยสิ่งที่เราจะได้รับ มันจะเป็นเลขของสลากที่ รันไปเรื่อยๆ ซึ่งเราไม่สามารถเลือกได้ หลักของเลขจะยาวหน่อยและมีตัวอักษรควบคู่ไปด้วย เพื่อเอาให้เราลุ้นรางวัลได้ในทุกๆเดือน และถ้าหลังจากนั้นเราจะไปซื้อเพิ่มก็ซื้อได้เรื่อยๆ โดยรายละเอียดของประเภทรางวัลแต่ละธนาคารค่อนข้างเยอะ ต้องเข้าไปขอดูข้อมูลแต่ละธนาคารเอง อย่างเช่น สลากของ ธกส. ก็จะไปออกทุกวันที่ 16 ของเดือน แต่ของออมสิน แบบของ 2 ปี 5 ปี รางวัลก็จะออกทุกวันที่ 1 ของเดือน แต่ถ้าเป็นแบบ 1 ปี 3 ปี รางวัลจะออกทุกวันที่ 16 ของเดือน และตามปกติถ้าไปซื้อสลากธนาคารก็จะให้เปิดบัญชีคู่สลากนั้นๆไปเลย เช่น ถ้าเราไปซื้อสลากออมสิน เราก็เปิดบัญชีธนาคารออมสินควบคู่กันไป บางคนสับสนว่า บัญชีสลากกับบัญชีรางวัลเป็นอันเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง สลากก็ส่วนสลาก บัญชีก็ส่วนบัญชี ซึ่งบัญชีนี้มีไว้ในเวลาที่เราถูกรางวัลเราได้รับรางวัล ไม่ว่ารางวัลเล็กหรือใหญ่ธนาคารก็จะโอนเงินเข้ามาบัญชีนี้ของเราที่เปิดคู่กัน โดยที่เราสามารถถอนไปใช้โอนไปใช้ได้ไม่ต้องรอให้ครอบอายุของสลาก ไม่เกี่ยวกัน
สมมุติชื่อสลากมา 3 ปี แล้วดวงดีซื้อมาแค่ 2 เดือนแล้วถูกรางวัลก็สามารถถอนเงินรางวัลออกมาใช้ได้เลย ขั้นตอนในการซื้อการได้รับรางวัลสำหรับสลากทั้ง 3 ธนาคารก็จะเป็นตามนี้

ที่นี้ก็มาดูสลากแบบต่างๆของธนาคารทั้ง 3 แห่ง ว่ามีอะไรบ้าง
แบบแรก ของธนาคารออมสิน
จะมีแบบออมสิน ออมสินพิเศษ 2 ปี,3ปี,5ปี และเป็นแบบพิเศษที่เป็นดิจิตอล 1 ปี ,2ปี,ปี ดิจิตอล ก็คือการซื้อผ่าน แอปได้เลย ไม่ต้องไปธนาคาร ทุกอย่างไม่มีกระดาษมาให้ ก็จะอยู่ในออนไลน์
ของออมสิน ข้อดีก็คือ ราคาต่อหน่วยถูก ถ้าเรามีเงินน้อยเราก็สามารถซื้อได้ ถ้าเราฝากเงิน 3 เดือน แล้วอยากเอาเงินออกมาใช้ เราก็สามารถถอนมาได้เลย โดยที่เราไม่โดนหักเงินต้น แต่ว่าเราก็ไม่ได้รับดอกเบี้ย แต่ถ้าเราฝากเกิน 3 เดือน เกิน 1 ปี ดอกเบี้ยก็จะคิด % ตามที่ธนาคารเขากำหนดเอาไว้
แบบที่ 2 สลาก ธกส. คือของธนาคารเพื่อการเกษตร
จะมีชุดเกษตรยั่งยืน 2 ปี อันนี่เป็นแบบดิจิตอล เหมือนกัน ข้อดีก็คือ ราคาต่อหน่วยถูกเหมือนกัน ซื้อได้สะดวกโดยผ่าน แอป หรือซื้อผ่าน 7-11 ก็ได้
แบบที่ 3 ก็คือสลาก ธอส.สลากของธนาคารอาคารสงเคราะห์
แบบนี้จะเริ่มต้นต่อหน่วยขั้นต่ำค่อนข้างสูง จะมีทั้งหมด 3 ชุด มีหน่วยล่ะ 50,000 บาท หน่วยละ 1 ล้านบาท จนถึง 10 ล้านบาท แบบนี้เหมาะกับคนที่มีเงินเยอะ ข้อดีคือรางวัลได้สูง เพราะราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง ออกรางวีลบ่อยกว่า รางวัลเยอะกว่า ของออมสิน และ ธกส.

ถามว่าซื้อของธนาคารไหนดีที่สุด จริงๆแล้วก็ดีทุกแบบ อยู่ที่ว่าเราชอบแบบไหน มีเป้าหมายทางการเงินแบบไหน ถ้าชอบแบบระยะยาว ค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆ เราก็เลือกระยะเวลาที่มันนานขึ้น เลือก 3 ปี ,5 ปี เพื่อจะลุ้นรางวัลได้นานขึ้น ดอกเบี้ยก็เยอะขึ้น หรือพิจารณาจากรางวัลของแต่ละธนาคาร
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเครื่องมือทางการเงิน สำการซื้อและการลงทุนในสลาก ขอให้โชคดีในการเลือกลงทุนนะคะ
#การลงทุนในสลาก #สลากออมสิน #การลงทุน