แม้ในปัจจุบันนี้ทุกคนจะมองเห็นภาพความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของอเมซอน และทุกคนอาจจะมองว่า Jeff Bezos คือนักธุรกิจเก่งเหนือคนธรรมดาทั่วๆไป แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาก็เหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งที่กล้าทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนทั่วๆไป และผ่านความล้มเหลวมามากกว่าใครๆ แถมยังเคยล้มเหลวจนเกือบจะล้มละลายมาแล้วและความล้มเหลวในแต่ละครั้งก็สูญเสียเงินมหาศาล ยกตัวอย่างเช่นเขาขาดทุนกับสินค้าที่ชื่อ Fire Smart phone ไปกว่า 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาคือเจ๊งไม่เป็นท่ากับการลงทุนใน living social มูลค่าความเสียหาย 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีกสักตัวอย่างหนึ่งที่ลงทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กับ drugstore แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องขายกิจการแบบยอมขาดทุน แต่ถึงแม้ว่าจะล้มเหลวแบบนับครั้งไม่ถ้วนแต่ Jeff Bezos ก็ยังคงมองโลกในแง่บวกโดยได้แสดงทัศนคติผ่านจดหมายผู้ถือหุ้นในปี 2013ว่า ความล้มเหลวเป็นของคู่กันกับนวัตกรรม พวกเราเชื่อในการทดลองและการทำผิดพลาดแต่เนิ่นๆ มันคือการเรียนรู้และลองทำสิ่งใหม่จนสำเร็จ โดย Amazon นั้นคือสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกที่คุณจะลองล้มได้ และต่อไปนี่คือ 5 บทเรียนที่ถอดจากความล้มเหลวจนประสบความสำเร็จของ Jeff Bezosนักธุรกิจหนุ่มที่ล้มและลุกขึ้นทุกครั้งด้วยพลังความคิดบวก

บทเรียนที่ 1 FIND YOUR BIG GOAL ตั้งเป้าหมายใหญ่ แล้วค่อยลงมือทำอย่างอดทน
บางสื่อได้รายงานว่า ความฝันสูงสุดของ Jeff Bezos นั่นคือการ
เป็นนักประดิษฐ์ และการเดินทางสู่อวกาศซึ่งใช้เงินลงทุนมหาศาลมากและทางเลือกสู่จุดหมายนั้นก็มีด้วยกันหลายทางแต่เขาเลือกที่จะหาเงินผ่านทางการสร้างธุรกิจ โดยธุรกิจดังกล่าวจะต้องเป็นธุรกิจระดับโลกพร้อมกับตั้งชื่อธุรกิจว่า Amazon ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นป่าอเมซอน ตัวแทนแห่งความสมบูรณ์ทางธรรมชาตระดับโลก แต่หลังที่คิดได้ก็ใช่ว่าจะเริ่มต้นได้ทันที เพราะเขาต้องเพียรสะสมประสบการณ์ และสะสมเงินทุนผ่านการทำงานประจำอยู่ร่วม 10 ปี จากนั้นจึงตัดสินลาออกมาทำโครงการ Amazon ด้วยเงินเก็บส่วนตัวจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐและเงินกู้อีก 84,000ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้โรงรถเป็นออฟฟิศแห่งแรกในชีวิต ในช่วงนั้นคนรอบข้างอาจมองว่าเขาบ้าไปแล้ว แต่เขาก็ไม่ถือสาว่าเป็นคำดูถูกดูแคลน เพราะตัวเขาเองก็บอกกับสมาชิกในครอบครัวว่า โครงการอเมซอนนี้ มีโอกาสเจ๊งสูงถึง 70 % ซึ่งเป็นการพูดแบบมองโลกตามความเป็นจริงที่สุด

บทเรียนที่ 2 STICK WITH YOUR PLAN ยึดมั่นในแผนการ
อย่างเด็ดเดี่ยว ธุรกิจ Amazon เปิดตัววันที่ 5 ก.ค.1994 แม้ว่าจะมียอดขายเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่บริษัทกลับไม่มีกำไร ผ่านไปร่วม 8 ปี คือ ปี 2002 บริษัทมีหนี้สินจำนวนกว่า 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 66,000ล้านบาท ในขณะที่ Amazon ตอนนั้นมีเงินสดอยู่เพียง 738 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนอกจากปัญหาเรื่องตัวเลข Amazon ยังเจอปัญหาอีกหลายด้าน ถูกบริษัทที่ขายหนังสือพยายามฟ้องร้องเรื่องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม รวมไปถึงการเข้าสู่สภาวะเสี่ยงล้มละลาย ซึ่งJeff Bezos ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ Amazon อยู่รอด เช่น การหาแหล่งเงินทุนจากนอกประเทศ การปลดพนักงานออกถึง 14 % เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้บริษัทยืนอยู่ได้จนถึงเป้าหมายใหญ่ที่เขามีอยู่ในใจ จากบริษัทที่เกิบเจ๊งผ่านมาอีก 17 ปี ในปี 2519 Amazon ก็มียอดขายกว่า 279,000,000,000 ( สองแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ) และมีกำไรประมาณ 1หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 57-240 % และนี่ก็คือผลลัพธ์จากความเชื่อมั่นในอนาคต การฝ่าฟันอุปสรรค และอดทนรอเวลา โอกาสที่เหมาะสมมาถึง
บทเรียนที่ 3 FOCUS ON DELIGHT,NOT DISRUPTION จงอย่า
หยุดชะงักแล้วเอาเวลาไปทำให้ลูกค้ามีความสุข

บทเรียนที่ 4 LET CRITICISM BOUNCE OFF ไม่สนใจต่อคำดูถูก
เขาบอกว่าการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ เราต้องอดทนต่อคำวิจารณ์เป็นอย่างมาก แต่การทองระยะยาวสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะคุณต้องทดลองและล้มเหลวเป็นจำนวนมาก รวมถึงการไม่ได้รับความเข้าใจว่าตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่เป็นเวลาอย่างยาวนาน และหลายสิ่งที่ Amazon ทำนั้นก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จภายในปี 2 ปี ทุกอย่างที่ทำล้วนใช้เวลา 3-5 ปี ดังนั้นถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ และจะไปหยุดที่จุดๆไหน ก็จงเดินต่อไปให้สุดทาง
บทเรียนที่ 5 BE BOLD ต้องบ้าและกล้าที่จะแข็งแรง
อย่างที่เห็นว่า สิ่งที่Jeff Bezos ทำในตอนแรกนั้นไม่มีใครเข้าใจทุกคนต่างมองว่าเขาเป็นคนบ้าและไร้สติ ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากจะมีวิสัยทัศน์ที่ดีพอ แผนธุรกิจที่เฉียบคม การเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้ ที่เหลือคือเรื่องของใจล้วนๆ ต้องถามว่าหัวใจของคุณแข็งแรงเพียงพอที่จะผ่านมันไปได้ด้วยตัวคุณเองหรือไม่ สำหรับ Jeff Bezos เขาได้พิสูจน์แล้วว่าเขาแข็งแรงมากพอที่จะนำพา Amazon กลายเป็นธุรกิจเบอร์ 1 ของโลก
สิ่งที่เขาทำก้าวข้ามจากธุรกิจที่เกือบจะล้มละลายสู่เว็บไซด์ อีคอมเมิร์ชระดับโลก ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเพราะโชคช่วย ที่สำคัญไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเขาเก่งเหนือคนธรรมดา แต่เขาเรียนรู้จากความผิดพลาด ต้องกล้าหาญ อดทนเพื่อเดินทางไปสู่ความสำเร็จ
#Amazon #บทเรียนความล้มเหลว #การลงทุน