เชื่อไหมว่า บางครั้ง ความรู้ในการลงทุนก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการความสร้างความสำเร็จในการลงทุนซะทีเดียว แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือจิตวิทยาของการลงทุน ซึ่งบางครั้งอาจะมีความสำคัญที่มากกว่าอีกด้วย วันนี้เราจึงจะมาแบ่งปันกันในเรื่องของจิตวิทยาการลงทุน ซึ่งสำคัญมากกับนักลงทุนมือใหม่ เพราะเมื่อลงทุนไปสักพักคุณจะต้องเจอเรื่องเหล่านี้ที่เรากำลังจะแบ่งปันกัน

จิตวิทยาการลงทุน ถ้าไปถามนักลงทุนรุ่นพี่ที่เก๋าๆ เขาอาจจะบอกว่าเขาให้ความสำคัญกับเรื่องจิตวิทยานี่ถึง 90 % บางคนอาจจะ 100 % เสียด้วยซ้ำ เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้น วิธีการดูหนี้สิน วิธีการดูกราฟว่าอยู่ในจุดที่ควรซื้อ ควรขายหรือเปล่า ความรู้พวกนี้มันมีอยู่ตามโลกอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องที่ศึกษาได้เข้าถึง และสามารถเรียนรู้จนมีความรู้ที่ใกล้เคียงกัน อ้าว ! แล้วถ้าความรู้ต่างสามารถศึกษาได้ง่าย ทำไมมันถึงมีความแตกต่างระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จกับนักลงทุนที่ล้มเหลว
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เกิดความเป็นจริงที่ว่าทำไมนักลงทุน 100 คน จึงมีคนประสบความสำเร็จ เพียง 10 คนเหลืออีก 90 คนที่เท่าทุน หรือ ขาดทุน แล้วกำไรก็จะไปอยู่กับคน 10 คน เท่านั้นเอง เหตุผลที่สำคัญมากก็คือ เรื่องของ จิตวิทยาการลงทุน ซึ่งโดยปกติของการลงทุนทั่วไป เราจะอาศัยปัจจัยการลงทุนอยู่ประมาณ 3 ปัจจัยหลักคือ

1.เครื่องมือดี มีความรู้ที่ดี เข้าถึงข้อมูลได้ รู้ว่าหุ้นตัวไหน ถูกตัวไหนแพง รู้ว่าตัวไหนควรลงทุนเพิ่ม ตัวไหนควรถอย
2. การบริหารเงินที่มีอยู่ คือต้องรู้ว่าเวลาจัดพอร์ตควรใส่หุ้นกี่ตัวในพอร์ต เวลาขาดทุนควรจะลดพอร์ตลง เวลากำไรค่อยเพิ่มมามันคือเรื่องของการบริหารเงิน
3.อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ เรื่องของ จิตวิทยาการลงทุนนั่นเอง เพราะในตลาดการลงทุนมีความรู้อย่างเดียวไปไม่รอด เพราะความรู้เท่าๆกัน แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ เรื่องของอารมณ์ในขณะที่อยู่ในตลาด หรือพูดง่ายๆตรงๆก็คือ ความโลภ และความกลัว นั่นเอง เพราะในบางครั้งเราบริหารอารมณ์ไม่ได้ แน่นอนว่าทุกคนเมื่อเริ่มต้นลงทุนจะต้องมีการวางแผนการลงทุนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นคือ จะทำอย่างไรให้สามารถทำตามแผนการลงทุนนั้นได้ อันนี้คือเรื่องที่ยากที่สุดแล้ว อันนี้ถ้าใครเคยลงทุนมาสักปีหนึ่งแล้วและผ่านช่วงโควิดที่เอาแต่ไหลลงๆมาแล้วมันก็ดีขึ้นไป ถ้าเกิดมองย้อนกลับไปก็จะเห็นว่าเราเกิดความคิดหลายอย่าง แต่ในขณะที่อยู่ในตลาดลงทุน ไม่ว่าเราจะมีแผนเทรด หรือแผนอะไรที่วางไว้ก็ตาม แต่ความยากของมันที่เราจะทำตามแผนได้หรือเปล่าตรงนั้น เพราะคนเราส่วนใหญ่เวลาโลภมากๆก็อยากลงทุนเพิ่ม พอได้กำไรมากๆก็เริ่มมีความมั่นใจเราก็จะเติมเงินเพิ่ม นี่มันเป็นอคติแบบหนึ่ง หรือบางคนก็กลัว ก็เลยถือกำไว้ จนมันกลับมาขาดทุน หรือบางคนกลัวมาก กลัวไปกลัวมาก็เลยไม่ได้ซื้อเลย

ดังนั้นถ้าเราจะชนะเรื่องของการลงทุนมันต้องสู้กับจิตใจของเราเอง เพราะจิตวิทยาการลงทุนไม่เกี่ยวกับการต่อสู้กับคนอื่น อย่างที่เรารู้ว่าในตลาดการลงทุน มันมีนักลงทุนมากหน้าหลายตา หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ มือเก๋า ตลาดกองทุน กองทุนต่างประเทศ แต่มันก็เข้ามาสู้ในสถานการณ์เดียวกันนี่แหละไม่แตกต่าง แต่จิตวิทยาการลงทุนไม่ได้สู้กับบุคคลเหล่านั้นเลย เราได้สู้บน 2 ปัจจัยแรกกับนักลงทุนคนอื่นๆข้างต้นที่บอกไปแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการต่อสู้กับตัวเองว่า จะทำอย่างไรให้เราไม่มีอคติต่อการลงทุน ทำอย่างไรให้เราสามารถทำตามแผนการลงทุนที่เราวางไว้ได้
ส่วนใหญ่นักลงทุนมักจะมีอดติหลายๆอย่างในการลงทุนติดมตัวมา คือเวลาที่ได้กำไรก็จะใจพองโต กล้าลงทุน กล้าอัดเม็ดเงิน ใครเตือนก็ไม่ฟัง เพราะมีความมั่นใจในตัวเองแบบเกินไป และอคติอีกตัวที่มีเกิดขึ้นบ่อยๆคือ การค้นหาข้อมูลที่มาสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง อ่าน ฟังเฉพาะสิ่งที่เราอยากรับรู้ เพราะการเปิดกระดานในตลาดหุ้นมันจะ มีคนที่อยากซื้อและอยากขาย ดังนั้นจึงจะมีข้อมูล 2 ด้านอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็จะเลือกเสพข้อมูลมุมที่ตรงกับความชื่อของเรา ซึ่งทำให้มองข้ามบางอย่างที่สำคัญไป
อคติหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกับนักลงทุนคือ การยึดติดกับอดีตของความสำเร็จ เช่นเคยซื้อหุ้นตัวนี้แล้วดีก็คิดว่ามันจะสร้างกำไรกับเราได้อีก เราเคยขาดทุนกับหุ้นตัวนี้เราไม่เอา ทั้งที่ปัจจัยต่างๆที่เกิดในอดีตนั้นมันจบไปแล้ว
จิตวิทยาในการลงทุน เหมือนจะเข้าใจและทำได้ง่าย แต่ยืนยันว่ายากมากที่จะทำตามแผนที่วางไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นจิตวิทยาของการลงทุนทั้งหมด ถ้าเราอยากจะมีจิตวิทยาการลงทุนที่ดีขึ้น เวลาที่คุณรู้สึกว่าอารมณ์มันลากไปคุณลองใช้วิธดังนี้
1.ต้องมีสติ
2.รีบกลับมาดูแผนการลงทุนของตัวเองว่าเป็นอย่างไร
3.อย่าไปใส่อารมณ์กับมัน ไม่จ้องกราฟตลอดเวลา
4.วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง
5.พยายามเปิดรับข้อมูลที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับความอยากของเรา
ในช่วงโควิด เราจะเห็นนักวิเคราะห์ 2 ฝั่งอย่างชัดเจน ฝั่งหนึ่งคือมองว่าเป็นโอกาสในการลงทุน อีกฝังหนึ่งคือจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหนัก ดังนั้นควรเอาความเห็นทั้งสองด้านมาชั่งน้ำหนักว่าเราจะไปทางไหน โดยใช้จิตวิทยาในการลงทุนอย่างมีสติ ไร้อคติ ถึงตรงนี้รู้แล้วใช่ไหมว่าอะไรคือตัวแบ่งความเป็นนักลงทุนที่ล้มเหลว และนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
#จิตวิทยาการลงทุน #การลงทุน #การออมเงิน