“วางแผนการเงินในยุควิกฤติ Covid-19” กับ โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ตอนที่ 2

วางแผนการเงินในยุควิกฤติ Covid-19 กับ โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ตอนที่ 2

ในตอนที่ 1 โค้ชหนุ่มได้พูดถึงภาพรวมของสถานการณ์ทางการเงินของคนไทยในยุคโควิด พร้อมทั้งคำแนะนำเบื้องต้น ในการวางแผนการเงินในยุควิกฤติ Covid-19กันไปเล็กน้อยบ้างแล้ว ครั้งนี้เรามาติดตามเนื้อหาที่เริ่มเข้มข้นในการบริหารการเงินในช่วงโควิดกันต่อเลย

“ เพราะสถานการณ์โควิดถือเป็นการทดสอบสถานภาพทางการเงินที่ค่อนข้างรุนแรงมากถือเป็นประวัติศาสตร์ได้เลย เพราะถ้าเรายังมีเงินเราก็ยังพอจะหาทางประหยัดตรงนี้ตรงนั้นได้บ้าง แต่ตอนนี้คือเงินมันหายไปหมดเกลี้ยงเลยดังนั้นเดือนๆหนึ่งนี้อะไรที่หยุดจ่ายออกไปได้หยุดให้หมดทุกรายการ ดังนั้น

ขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนต่อไปในการแก้ปัญหาคือ การจัดการค่าใช้จ่าย

ใครที่มีครอบครัวก็ต้องให้คนในครอบครัวมานั่งคุยกันแบบตรงไปตรงมาถึงสถานการณ์การเงินของครอบครัวว่า เป็นนอย่างไรแล้วก็คุยกันว่าใครจะอะไรกันได้บ้าง ? และถ้าทำแบบนี้แล้วก็ยังติดลบอยู่ เราก็ต้องเอาของที่มีในตัว หมายถึง ทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถ เครือข่าย สายสัมพันธ์ของเราว่ามันสามารถจะไปช่วยสร้างรายได้อะไรได้บ้าง? อย่าไปตั้งคำถามผิดๆกับโค้ช หรือถามคนอื่นๆว่า อยากได้รายได้เสริมทำอะไรดีเพราะตัวคุณเองมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถคนละแบบ ดังนั้นถามตัวเองว่า ทำอะไรได้บ้าง เขียนใส่กระดาษ แล้วก็มานั่งคิดว่าอะไรที่พอจะเริ่มได้เลย ออกจากบ้านไม่ได้ เอาโซเซียล มีเดียมาใช้ เปลี่ยน เฟซบุ๊กที่ชอบเอามาบ่นว่าชีวิตมันแย่ โน่นนี่นั่นมาเปลี่ยนเป็นช่องทางหาเงิน บอกว่าเรากำลังทำอะไรที่เป็นทางหารายได้จะดีกว่า อย่าไปเศร้าโศกกับชีวิตมาก เพราะชีวิตมันจะขับเคลื่อนไปได้ยาก ต้องให้กำลังใจตัวเองเป็นสำคัญ และทำสูตร 3 ข้อที่บอกไปว่า 1 ทำบัญชีรายรับรายจ่าย 2.ลดรายจ่ายเรื่องหนี้ เลื่อนจ่าย พักจ่าย 3.เอาความสามารถที่มีหาทางเพิ่มรายได้…

…ทีนี้มาดูเรื่องลดรายจ่าย

กรณีภาระเรื่องหนี้สิน คนที่มีปัญหาเรื่องหนี้ที่มีเห็นก็คือใครที่เป็นหนี้บริโภคก็จะเป็นหนี้บริโภคมากมาย จดรายการบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดออกมา ตกใจเลยว่าช่วงก่อนหน้านี้ทำไมทำบัตรได้เยอะ ใช้จ่ายได้เยอะขนาดนี้ ถ้าเป็นกลุ่มหนี้พวกบริโภคก็จะเป็นลักษณะนี้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มหนี้พวกบ้าน พวกรถ ก็จะเป็นหนี้ก้อนใหญ่ไปเลย…

…มาดูการจัดการกับหนี้เรื่องบัตรเครดิตกันก่อน

สิ่งที่จะต้องบอกอย่างแรกเลย อย่าใช้วิธีกดบัตรใหม่ไปจ่ายบัตรเก่า กดอันที่ไม่เป็นหนี้ไปหมุนเวียนจ่ายอันเป็นหนี้ อันนี้ห้ามทำเด็ดขาด เพราะตอนนี้เขามีช่องทางอื่นๆให้เราจัดการได้ เช่นเอาหนี้คงค้างทั้งหมดตั้งโจทย์เป็นจ่าย 48 เดือนได้ คือพยายามผ่อนแบบยืดให้มันยาวขึ้น และควบคุมตัวเองอย่าไปสร้างหนี้เพิ่ม หนี้ที่เราต้องจ่ายประจำทุกเดือนก็มีมาตรการผ่อนขั้นตำออกมาช่วย หรือเลื่อนระยะเวลาผ่อนชำระออกมาช่วยแล้ว ก็รีบไปคุย และเปรียบเทียบตัวเลขที่คุยว่ามันเบาขึ้นได้แค่ไหน?อย่างไร? แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบมีทางเดียวคือการเจรจา ซึ่งจะได้หรือไม่ได้ก็เป็นแต่ละกรณีไป ดังนั้นถ้าเป็นไปได้อย่ายายามสร้างหนี้นอกระบบ เป็นหนี้กับสถาบันทางการเงินจะดีกว่ามาก อาจจะช้า มีหลักการมีมาตรฐานที่ช่วยเหลือในยามวิกฤติ ซึ่งถ้าเป็นหนี้ในระบบสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งตอนนี้คือเปิดฉากเจรจาให้หมด หลักการคือยืดออกไปให้ผ่อนได้ต่ำที่สุด…

…เรื่องที่แก้ยากที่สุดคือคนบางคนเสพติดการเป็นหนี้

คือคนกลุ่มนี้เวลามีปัญหาอะไรขึ้นมาเงินขาดเงินมาพอใช้ ก็จะเกิดคำถามในสมองอย่างแรกอย่างเดียวเลยว่า จะยืมใครดีก็เลยกลายเป็นว่าสรรหาแหล่งเงินกู้ใหม่เสมอ เป็นหนี้ใหม่เกิดขึ้นเสมอ ลองเปลี่ยนคำถามในกรณีเงินไม่พอเป็นคำถามใหม่ว่า เราจะทำอะไรเพิ่มเพื่อหารายได้เพิ่มเข้ามา ซึ่งถ้าเราลดทุกอย่างแล้วไปไม่ได้อีก มันก็เลือกทางนี้จะดีกว่า เพราะการเป็นหนี้ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตกไปในหลุม เพราะฉะนั้นถ้าเราตกหลุมอยู่แล้วเราขุดหลุมต่อเราไม่มีทางได้ขึ้นจากหลุม เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องรู้จักเจรจาให้ดุพอจริงจังพอที่จะได้ตามเป้าหมายที่เรารับไหว ไม่ใช่ว่าเขาเสนอมาแบบไหนก็เอาแบบนั้น แล้วก็รับปากเขาไปชุ่ยๆได้ลดนิดๆหน่อยๆ ให้ผ่านไปแค่ตรงนั้นก่อนไม่ได้ ที่ให้ทำงบการเงินก็เพราะเหตุผลนี้เพื่อจะได้รู้ตัวว่าตรงนี้มันลดพอไหม เราไหวไหมถ้าเขาให้แค่นี้ ถ้าไม่พอ ยืดระยะเวลาก็ยังไม่ได้ เพราะฉะนั้นขอหยุดจ่ายชั่วคราวขอพักการจ่าย คือเราต้องคุยไปให้สุดเพื่อให้เราไปต่อได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้เราอยู่ในข่ายที่เจราจาได้เขาเปิดให้เจราก็ต้องเจราจา คำว่าเจราไม่ใช่ไปถามเขาว่าตอนนี้ธนาคารให้สิทธิ์อะไรบ้างคะ? ไม่ใช่คุณต้องคุยไปเลยว่า เราอยากได้แบบนี้ ต้องการเงื่อนไขแบบนี้ ทำทุกอย่างเพื่อให้กระแสเงินสดกลับมาเป็นบวก และถ้ายังไม่บวกจริงไอย่าไปถามตัวเองว่าจะยืมใครแต่ให้เปลี่ยนคำถามว่าจะทำอะไรเพิ่มรายได้ได้บ้าง ซึ่งการเจรจานี่ถ้าคุยสุดๆแล้วมันไม่ได้ผลจริงค่อยมาปรับที่เราเอง …

…ยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นจริง คนๆหนึ่งเป็นหนี้นอกระบบมา 4 ปีเต็ม พอเกิดโควิด ใครก็นึกว่าชีวิตยังไงก็ต้องเละ แต่ปรากฏว่าเขาคิดสู้ ในสองสัปดาห์เขานั่งเย็บหน้ากากขาย สองสัปดาห์ที่ว่าเขาสามารถปลดหนี้นอกระบบที่ติดมา 4 ปีหมด นั่นคือวิธีคิดของคนที่จะสู้กับปัญหา แต่ถ้าเราตั้งโจทย์ว่าขาดเงิน แล้วมีใครให้ยืมได้บ้าง มันก็แค่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพราะในสถานการณ์แบบนี้ มาตรการหนี้ในระบบก็มีทางที่ช่วยเหลือคุณในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งถ้าคุณสามารถผ่านทุกอย่างไปได้ก็ดี แต่ถ้าไม่ได้คุณก็ต้องหาแหล่งเงินเข้ามาจากการลงมือทำอะไรบางอย่าง ช่วงโควิด มีกรณีอย่างนี้เยอะมากที่เข้ามาปรึกษา อย่างเทนเนอร์ฟิตเนสตกงาน ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยเอากล้องมาถ่ายตัวเองออกกำลังกายแล้วยิงภาพออกทางสื่อโซเซียลมีเดีย ปรากฏว่ามีคนติดตามดูและมาขอเรียนด้วย แล้วก็จ่ายเงินค่าเรียน คืออยากบอกว่าถ้าทำทุกอย่างแล้วมันไม่ได้ ให้หันมาดูความสามารถของตัวเรา เครือข่ายของตัวเราว่าทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่ว่าใครมีโค้ชทางการเงิน หรือเจอโค้ชหนุ่มแล้วจะผ่านปัญหาไปได้ทุกคนหรอกนะ คนๆนั้นก็ต้องสู้ไปด้วยตามหลักการ”

บทนี้เป็นคำแนะนำในการแก้ปัญหาที่ลงลึกทั้งทางความคิดและการลงมือทำลึกขึ้นมาอีกจากตอนที่ 1 โดยเฉพาะเรื่องการจัดการกับหนนี้ประเภทการบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ของบัตรเครดิต รวมไปถึงหนี้นอกระบบ ในตอนที่3 เราจะไปดูกันถึงแนวทางแก้ปัญหาสำหรับหนี้ที่เป็นหนี้ก้อนใหญ่ คือกลุ่มหนี้ผ่อนรถ หนี้ผ่อนบ้าน อย่าพลาดที่จะติดตามคำแนะนำของโค้ชหนุ่ม โค้ชทางการเงินที่เข้าถึงคนไทยมากที่สุดในวันนี้ในตอนต่อไป

#วางแผนการเงิน #Covid-19 #วิธีเก็บเงิน

Our Partner