พูดเรื่องการวางแผนการเงินในยุค โควิด 19 น่าจะเปลี่ยนแปลงไปเยอะจากการวางแผนการเงินในภาวะปกติ ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะมีคำถามเยอะว่า ทำไม่เราต้องเรียนรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน ทำไมต้องรู้ทำไมต้องเรียน แต่มาถึงตอนนี้ทุกคนคงมองเห็นความสำคัญกันมากขึ้น ซึ่งบทความทางธุรกิจและการลงทุนที่ต่อเนื่องในครั้งนี้ เราได้นำสาระที่เป็นประโยชน์ และใช้ได้จริง จาก โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ โค้ชที่ปรึกษาทางเงินที่เข้าถึงคนในประเทศมากที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันมาฝากผู้อ่าน ในหัวข้อต่อเนื่องที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่สุดในหัวข้อเรื่อง

“วางแผนการเงินในยุควิกฤติ Covid-19″ ซึ่งคุณไม่ควรพลาดไปเรียนรู้พร้อมกัน เพราะนอกจากคุณจะได้คำแนะนำแล้ว ยังจะมีกำลังใจในการผ่านช่วงวิกฤตินี้อีกด้วย
“ ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์โควิด 19 ระบาด คนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของการเก็บเงินสำรองไว้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน แม้กระทั่งการออมเงินก็ยังไม่เห็นความสำคัญ และมองเรื่องของการออมเงินเป็นเรื่องหลังๆ และเมื่อการออมเป็นเรื่องหลังๆ เรื่องของการลงทุนยิ่งเป็นเรื่องหลังๆสุดไปใหญ่ เพราะเมื่อไม่มีเงินออมก็ไม่มีเงินลงทุน หลายคนไม่มีเกราะกำบังทางการเงินเลย เหมือนช่วงนี้ที่โควิดวิ่งเข้ามาหา มันเป็นตัวเช็คเลยว่าการเงินพื้นฐานของตัวเราใช้ได้ระดับไหน ถ้าการเงินพื้นฐานพอไหวหรือดี ก็ไม่ถึงว่าไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็พอจะเอาตัวรอดและพอจะผ่านไปได้เท่านั้น แต่ถ้าโควิดมาแล้วพังเลย นั่นก็เป็นจุดเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องกลับมาคิดเรื่องการวางแผนทางการเงินกันแล้วอย่างจริงๆจังๆ…
…ปัญหาของคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ รายได้ที่หายไป โดยก่อนหน้าที่จะเกิดโควิด หนี้สินครัวเรือนสูงเกือบ 80 % คนไทยส่วนใหญ่มีหนี้บริโภคที่สะสมอยู่มากพอสมควร บางคนใช้ชีวิตไม่ได้อยู่บนฐานเงินเดือนประจำ แต่อยู่บนค่าล่วงเวลา หรือค่าคอมมิชชั่น พูดง่ายๆคือถ้าไม่มีค่าคอมมิชชั่น ไม่มีค่าล่วงเวลาคืออยู่ไม่ได้ ซึ่งก่อนโควิด แม้จะมีหนี้มากแค่ไหนแต่ก็ยังมีรายได้ เงินที่ได้มาอาจจะแบ่งไปใช้หนี้เยอะหน่อย พอถูไถกันไปได้

แต่พอโควิดมามันคนละเรื่อง เพราะมันกระทบคนกลุ่มใหญ่ๆกลุ่มหนึ่งที่รายได้หายไป บางคนตกงานทันที บางคนถูกลด OT ถูกลดค่าคอมมิชชั่น บางคนรายได้หลักถูกลดไป 15-25 % เพราะฉะนั้นโจทย์การเงินมันคนละแบบกับที่เป็นมา โจทย์เก่าคือ มีรายได้แต่ไม่ค่อยพอใช้ โจทย์ใหม่คือ รายได้ไม่มีแต่มีภาระ คือไม่มีเงินเลยไม่มีเงิน บางคนให้หยุดงานโดยไม่จ่ายเงิน ก็คือไม่มีเงินเลย แต่มีหนี้ แม้สถาบันการเงินจะออกมาตรการมาช่วย แต่ก็มีหนี้นอกระบบ หนี้ในสังคมชีวิตอื่นๆอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าคนไทยเราสะสมไว้กันเยอะไปหน่อยในช่วงที่ผ่านมา สะสมไขมันทางการเงินหนักไปหน่อย เมื่อมีบททดสอบเข้ามาก็เลยเป็นตัวเช็คว่าที่ผ่านมา สุขภาพทางการเงินเราดีพอหรือเปล่า? พร้อมรับวิกฤติไหม?
ซึงคนที่วางแผนทางการเงิน ออกมเงิน เก็บเงินสำรองฉุกเฉินก็จะสามารถอยู่รอดได้ มันจึงเป็นเครื่องยืนยันว่า การเก็บเงินสำรองมันจำเป็นกับชีวิตมันเป็นเกราะกำบังให้เรามีเงินใช้จ่ายสำรองในช่วงวิกฤติได้จริง ทำให้เรามีสติจัดการในเรื่องต่างๆได้ดี ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนอีกกลุ่มก็คือ ในช่วงโควิดมีคนเข้ามาสนใจในเรื่องของการวางแผนทางการเงินมากขึ้นจนเห็นได้ชัด เพราะเริ่มรู้ว่า เรื่องการเงินเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่วางแผนจะลำบาก แต่ว่าบางคนก็อยู่ในสภาพที่ไม่ไหวแล้ว จนแทบจะแก้ไขไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแก้ไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เกิดคือ รายได้ลดและภารพหนี้เกินรายได้ที่มี ไม่มีเงินกินข้าว เพราะการสะสมภาระหนี้มานาน จึงกลายเป็นว่ารายได้หาย แต่ภาระหนี้สูง ไม่ใช่ รายได้หาย ภาระหนี้ต่ำ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก
จึงต้องแก้ด้วยการปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนหนี้ และกาช่องทางสร้างรายได้เสริม รายได้เพิ่ม ต้องทำสองทางในเวลาเดียวกัน แต่ที่แย่ที่สุดคือ เราออกไปไหนก็ไม่ได้ การหารายได้เพิ่มก็ยาก ซึ่งหากเทียบกับวิกฤติปี 2540 แล้ว ตอนนั้นรายได้ฝืด แต่ก็ยังออกจากบ้านไปหาอะไรทำได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ ตกงาน ออกไปหารายได้เสริมก็ไม่ได้ เงินทุนสำรองก็ไม่มี ซึ่งถ้าใช้สำนวนว่า มืดแปดด้าน คงเหมาะที่สุดสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคโควิดนี้ แต่โค้ชหนุ่มก็มีคำแนะนำให้กับผู้ที่ประสบปัญหาว่า…

…สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตรวจสภาวะทางการเงินของเราว่า สถานการณ์ทางการเงินเราอยู่ตรงไหน? นั่นหมายถึงการทำงบการเงินออกมาให้มองเห็น โดยทำรายรับรายจ่ายล่วงหน้า เพราะเรื่องเงินเป็นเรื่องที่คิดในหัวไม่ได้ เพราะมันจะมึนงง เพราะตัวเลขจะไปกองรวมกันในหัว แต่การทำรายรับรายจ่ายออกมาจะทำให้เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นจริงๆ ว่าสถานะทางการเงินเราอยู่ตรงไหน โดยทำล่วงหน้าสัก 6 เดือน โดยให้มองแบบโลกไม่ต้องสวยเลยเอาความจริง คิดรายได้แบบแย่ที่สุด คิดรายจ่ายแบบเต็มที่ นี่คือจุดเริ่มต้นที่จะแก้ปัญหา พอเราเห็นตัวเลขรายรับรายจ่ายแล้ว ถ้ามันเป็นบวกก็ต้องคิดว่า มันเป็นบวกแค่ในกระดาษ ที่เหลือต้องอาศัยวินัย ไม่เช่นนั้นจะไม่มีทางเป็นบวกได้ในกระดาษที่เขียน ต่ถ้ามีนติดลบก็ต้องมาเริ่มที่การจัดการเรื่องหนี้เป็นอย่างแรก
เพราะสำหรับกินอยู่ใช้จ่าย เมื่อยู่ในภาวะขัดสนเราพอจะบีบได้ ประหยัดได้ แต่ภาระหนี้เค้าพร้อมจะมาทวงเราเสมอ ดังนั้นเราต้องรู้จักการเจรจา ช่วงนี้อย่าทำตัวเฉิดฉายมาก คุยกับเจ้าหนี้ กับธนาคารเลยว่า จ่ายไม่ไหว ผ่อนไม่ไหว และไม่ใช่แค่เดือนนี้ อาจจะลามไปเรื่อยๆ ให้พูดความจริง พูดคุยเพื่อให้เราเห็นช่องทางอะไรบางอย่างที่จะปรับได้ อะไรไม่ไหวก็ต้องพักจ่ายไปเลย อย่าไปคิดถึงดอกเบี้ยที่เกิด เอาตรงนี้ให้ผ่านไปได้ก่อน ดังนั้นต้องเอาหนี้มาไล่เลียงแล้วไปเจรจากับหนี้ทุกตัว เลื่อนได้เลือน หยุดได้หยุด คือวิธีที่ดีที่สุด เอาสภาคล่องในการดำเนินชีวิตกลับมาให้ได้ก่อน”
ที่นำเนื้อหามาเสนอในตอนนี้เรียกว่าแค่เพียงเริ่มต้น แต่คำแนะนำที่ได้ก็ทำให้เห็นช่องทางที่เราจะพอขยับขยายชีวิตให้เริ่มหายใจได้บ้าง ดังนั้นอย่าลืมติดตามคำแนะนำในตอนต่อๆไป ของโค้ชหนุ่ม ผู้ที่จะชี้นำทางรอดในการดำเนินชีวิตในช่วงโควิด และเป็นกำลังใจให้สู้ได้จนผ่านพ้นวิกฤติในที่สุด
#วางแผนการเงิน #Covid-19 #วิธีเก็บเงิน